ตัววิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อก Tanakorn Tanchan 2555 ได้เลยครับ

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

จังหวัดสมุทรสงคราม


        สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว

ดอนหอยหลอด สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นสันดอนตั้งอยู่ปากแม่น้ำแม่กลอง เกิดจากการตกตะกอนของดินปนทราย มีหอยอาศัยอยู่หลายชนิด ได้แก่ หอยหลอด หอยลาย หอยปุก หอยปากเป็ด หอยแครง แต่พบว่าหอยหลอดเป็นหอยที่มีจำนวนมากที่สุด
วัดเขายี่สาร ตั้งอยู่ที่บ้านเขายี่สาร เป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่าสร้างมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สิ่งที่น่าสนใจได้แก่ พระวิหาร บนยอดเขามีลักษณะเป็นรูปเรือ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทสี่รอยซึ่งเป็นองค์ประธานของวัด พระมณฑปและบานประตูสลักไม้ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลายนับเป็นงานประณีตศิลป์ชั้นสูง พระอุโบสถบูรณะใหม่ประดิษฐ์ลวดลายปูนปั้นด้วยฝีมือช่างเมืองเพชร ภายในมีภาพจิตรกรรมฝีมือเดิม บานหน้าต่างเป็นรูปบุคคลในพงศาวดารจีน ถ้ำพระนอนประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ซึ่งมีนิ้วพระบาทเก้านิ้ว
พิพิธภัณฑ์บ้านเขายี่สาร ตั้งอยู่ในบริเวณวัดเขายี่สาร โดยใช้อาคารศาลาการเปรียญของวัดเป็นพิพิธภัณฑ์ เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2539 ด้วยความร่วมมือร่วมใจของชาวชุมชนยี่สารที่มีความสำนึกในประวัติศาสตร์ความเป็นมาของท้องถิ่น ชุมชนยี่สารเป็นชุมชนโบราณร่วมสมัยกับการเกิดกรุงศรีอยุธยา มีการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง เรื่องราวเหล่านี้เป็นจนข้อมูลสำคัญที่น่าศึกษา หาค้นคว้าได้จากพิพิธภัณฑ์บ้านเขายี่สาร อาคารชั้นล่างจัดแสดงภูมิปัญญาบ้านเขายี่สาร ชีวิตวัฒนธรรมของผู้คน เครื่องมือผลิตยาสมุนไพร เครื่องใช้ไม้สอยของชาวบ้านในชุมชน ชั้นบนจัดแสดงภาชนะ เครื่องมือเครื่องใช้ของชาวชุมชนเขายี่สาร
วัดบ้านแหลม หรือ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร ตั้งอยู่ในตัวอำเภอเมือง   เป็นวัดที่สำคัญของจังหวัด ตามพงศาวดารฉบับราชหัตถเลขา ปี พ.ศ. 2307 พม่ายกทัพเข้ามาตีเมืองเพชรบุรี แต่กองทัพของกรุงศรีอยุธยาได้ยกทัพมาช่วยรักษาเมืองไว้ได้ ชาวบ้านแหลมในเขตเมืองเพชรบุรีอพยพหนีพม่ามาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณตำบลแม่กลองเหนือวัดศรีจำปา จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านแหลม” ตามชื่อบ้านเดิมของตนในเมืองเพชรและช่วยกันบูรณะวัดศรีจำปา เรียกวัดนี้ใหม่ว่า “วัดบ้านแหลม”
วัดศรัทธาธรรมหรือวัดมอญ ตั้งอยู่ตำบลบางจะเกร็ง   เป็นวัดที่มีพระอุโบสถเป็นจุดเด่นสร้างโดยพระครูสมุทรวิสุทธิวงศ์ (อดีตเจ้าอาวาส) เมื่อ พ.ศ. 2535 พระอุโบสถทำด้วยไม้สักทองผนังฝังมุกทั้งด้านในและด้านนอก ลวดลายมีความละเอียดงดงามมาก แสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติและรามเกียรติ์ ภายในประดิษฐานหลวงพ่อบ้านแหลม หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด หลวงพ่อพุทธโสธร เป็นที่สักการะของชาวสมุทรสงครามและจังหวัดใกล้เคียง
อนุสรณ์สถานแฝดสยามอิน-จันและพิพิธภัณฑ์เรือ ตั้งอยู่ตำบลลาดใหญ่ เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแด่ฝาแฝดสยามอิน-จันที่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยไปทั่วโลก ภายในบริเวณเป็นลานกว้างประดับด้วยต้นไม้ดอกไม้ อนุสรณ์แฝดสยามอิน-จัน ตั้งอยู่กลางลานด้านหน้ามีสระน้ำขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีอาคารโถงจัดแสดงชีวประวัติของแฝดสยามอิน-จัน "แฝดสยามอิน-จัน" เกิดที่จังหวัดสมุทรสงครามเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2354 (ค.ศ. 1811) ประมาณปี พ.ศ. 2371-2372 (ค.ศ. 1828-1829) กัปตันคอฟฟินและฮันเตอร์เดินทางมาติดต่อการค้าที่แม่กลอง พบฝาแฝดคู่นี้จึงขอนำกลับไปอเมริกาและอังกฤษ เพื่อเปิดการแสดงในที่ต่างๆ เรื่องราวชีวิตของแฝดสยามอิน-จัน ฝาแฝดที่มีร่างกายท่อนบนติดกันและสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างปกติยาวนานจนถึงอายุ 63 ปี ได้รับการกล่าวขานทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกในชื่อ “Siamese Twin”
ตลาดน้ำท่าคา ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าคา เป็นตลาดนัดทางน้ำที่ยังคงความเป็นธรรมชาติของวิถีชีวิตชาวบ้านซึ่งมีอาชีพทำสวนปลูกพืชชนิดต่าง ๆ ชาวบ้านจะพายเรือนำผลผลิต พืชผักและผลไม้จากสวน เช่น พริก หอม กระเทียม น้ำตาลมะพร้าว ฝรั่ง มะพร้าว ชมพู่ ส้มโอมาขาย-แลกเปลี่ยนกัน
ตลาดน้ำอัมพวา อยู่ที่บริเวณตลาดอัมพวา จัดให้มีขึ้นในช่วงเย็นของทุกวัน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว มีเรือแจวของชาวบ้านนำผลิตผลเกษตรจากสวนเช่นผัก ผลไม้ ดอกไม้มาขาย และยังมีอาหารจำพวกก๋วยเตี๋ยว ขนมหวาน กาแฟโบราณ นอกจากจะเพลิดเพลินกับการซื้อของกับแม่ค้าที่พายเรือมาขายแล้ว บนฝั่งเป็นตลาดอัมพวาซึ่งมีร้านค้าแผงลอยจำหน่ายอาหารมากมาย
บ้านดนตรี ตั้งอยู่ในบริเวณวัดภุมรินทร์กุฎีทอง โดยใช้อาคารโรงเรียนเป็นที่ทำการสอนดนตรีไทย ด้วยสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม เล็งเห็นคุณค่าวัฒนธรรมของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ควรอนุรักษ์สืบทอดให้ลูกหลานชาวสมุทรสงครามได้ภาคภูมิใจ จึงได้รวบรวมนักดนตรีไทยรุ่นเก่าๆ ที่สมัครใจ ให้อบรมสั่งสอนเด็กรุ่นใหม่เพื่อสืบทอดความเป็นเมืองแห่งดนตรีไทยไว้สืบชั่วลูกหลาน
บ้านแมวไทยโบราณ เป็นสถานที่อนุรักษ์พันธุ์แมวไทยโบราณ ตั้งอยู่ตำบลแควอ้อม บ้านแมวไทยโบราณเกิดจากการรวมตัวของเพื่อนที่นิยมเลี้ยงแมวไทย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์แมวไทยให้อยู่คู่กับประเทศไทยเป็นสมบัติของชาติตลอดไปและเพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องคุณสมบัติและลักษณะที่ถูกต้องของแมว สนับสนุนด้านการค้นคว้าวิจัย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นรวมทั้งเพิ่มพูนความรู้ระหว่างสมาชิก แลกเปลี่ยนเรื่องและประสบการณ์การวิจัย การผสมพันธุ์กับองค์กรการเลี้ยงแมวที่เกี่ยวข้อง คุณปรีชา พุคคะบุตร ผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นผู้ดูแลบ้านแมวไทยโบราณเล่าให้ฟังว่า “เดิมคุณแม่เป็นผู้เลี้ยงแมวไทยสายพันธุ์วิเชียรมาศ สมัยนั้นผมยังเด็กไม่ค่อยได้สนใจ พอโตขึ้น ถูกใช้ให้คลุกข้าวเลี้ยงแมว ช่วงนั้นมีแมวอยู่ในบ้านไม่มากนัก เลี้ยงมาเรื่อยๆ แมววิเชียรมาศไม่เคยขาดบ้าน มีความผูกพันกับแมวมาตลอด ต่อมามีเพื่อนฝูงที่นิยมเลี้ยงแมวมากขึ้น ไปมาหาสู่พูดคุยกันว่าน่าจะอนุรักษ์ไว้ เพราะแมวไทยเป็นแมวที่ฉลาด ช่างประจบ รักบ้าน รักเจ้าของและสวยสง่า มองดูสะดุดตา” แมวไทยมีหลายพันธุ์ทั้งพันธุ์สีสวาท ศุภลักษณ์ โกญจา ภายในบ้านแมวไทยมีเรือนเพาะเลี้ยงแมวไทย แบ่งเป็นกรงเลี้ยงแมวไทยประเภทต่าง ๆ บ้านแมวไทยโบราณ เป็นสถานที่น่าสนใจเหมาะแก่การศึกษาหาความรู้เรื่องแมวไทยพันธุ์แท้ๆ
วัดจุฬามณี ตั้งอยู่ตำบลบางช้าง เป็นวัดโบราณริมฝั่งคลองอัมพวาต่อเนื่องกับคลองผีหลอก วัดนี้สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง สันนิษฐานว่า ท้าวแก้วผลึก (น้อย) นายตลาดบางช้าง ต้นวงศ์ราชินิกุลบางช้างเป็นผู้สร้างขึ้น บริเวณหลังวัดเดิมเป็นนิวาสสถานของคุณนาค (สมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1) และคุณบุญรอด (สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 2)
วัดบางกะพ้อม เป็นวัดเก่าแก่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สิ่งที่น่าสนใจอยู่ภายในวิหารเก่าของวัด ผนังวิหารด้านบนเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังลักษณะแตกต่างจากทั่วไป คือ เป็นปูนปั้นลวดลายนูนแสดงเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธประวัติ ผนังวิหารด้านล่างโดยรอบมีช่องเจาะเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป นอกจากนี้กลางวิหารยังประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองขนาดใหญ่ซ้อนกันสี่รอยลดหลั่นกันไป สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงธนบุรี เดิมมีแผ่นเงินหุ้มแต่ถูกขโมยไปเมื่อครั้งสงคราม พระพุทธบาทรอยที่ซ้อนลึกที่สุดนั้นเป็นไม้ประดับมุกยังคงหลงเหลือลวดลายงดงาม
วัดบางแคน้อย ตั้งอยู่ที่ตำบลแควอ้อม สร้างเมื่อ พ.ศ. 2411 เดิมอุโบสถของวัดสร้างบนแพไม้ไผ่ผูกไว้กับต้นโพธิ์ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง ปัจจุบันวัดนี้ได้รับการบูรณะอย่างดี สิ่งที่น่าชมภายในวัด ได้แก่ ผนังภายในพระอุโบสถทำจากไม้สักแกะสลักเป็นเรื่องราวในพุทธประวัติ การประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน และเรื่องพระเจ้าสิบชาติ ลวดลายสวยงามชัดเจนโดยฝีมือช่างแกะสลักจังหวัดเพชรบุรีซึ่งมีชื่อเสียงด้านการแกะสลักไม้ นับเป็นอุโบสถที่มีความงดงามในศิลปะการแกะสลักไม้
วัดบางแคใหญ่ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง ตำบลแควอ้อม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2357 ภายในวัดมีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่น่าสนใจ ได้แก่ พระอุโบสถหลังใหญ่อายุกว่า 150 ปี ด้านหน้ามีเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมสิบสองศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา พระประธานในอุโบสถปางมารวิชัยปั้นด้วยศิลาแลง มีธรรมเจดีย์ 7 องค์สร้างเมื่อ พ.ศ. 2415 มีกำแพงแก้วล้อมรอบ และบนฝาประจัน (ฝากั้นห้อง) กุฏิสงฆ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนด้วยสีฝุ่นผสมกาว เขียนในปลายสมัยรัชกาลที่ 2 เป็นเรื่องราวการทำสงครามไทย-พม่า ซึ่งน่าจะเป็นครั้งที่ ร.2 โปรดให้ไปขัดตาทัพที่ราชบุรีเมื่อปี พ.ศ. 2364
วัดประดู่ ตั้งอยู่ที่ตำบลวัดประดู่ อำเภออัมพวา เป็นวัดเก่าแก่ สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รัชกาลที่ 5 เคยเสด็จประพาสต้นทางชลมารคมาที่วัดนี้สมัยที่หลวงปู่แจ้งเป็นเจ้าอาวาส ทรงมีพระราชศรัทธา และได้ถวายสิ่งของให้แก่หลวงปู่มากมาย เช่น เรือเก๋งพระนที่นั่ง พระแท่นบรรทม ตาลปัตร ปิ่นโต สลกบาตร ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันทางวัดได้โดยจัดสร้าง พิพิธภัณฑ์พระราฃศรัทธา เก็บรักษาไว้อย่างดี นอกจากนี้ในพิพิธภํณฑ์ยังจัดแสดง "หุ่นดินสอพอง" รูปพระเกจิอาจารย์ในจังหวัดสมุทรสงคราม และรูปรัชกาลที่ 5 แกะสลักจากไม้หอม
วัดภุมรินทร์กุฎีทอง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง ตำบลสวนหลวง สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดมีมากมาย ได้แก่ กุฎีทอง ทำด้วยไม้สัก ประวัติเล่าว่า เศรษฐีบิดาของคุณนาค (สมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1) ให้สมภารวัดบางลี่ตรวจดูดวงชะตาคุณนาค สมภารทำนายว่าจะได้เป็นพระราชินี เศรษฐีบิดาคุณนาคจึงให้คำมั่นว่า ถ้าเป็นจริงจะสร้างกุฎีทองถวายให้วัด วัดบางลี่จึงได้ชื่อว่า วัดบางลี่กุฎีทอง ต่อมาวัดบางลี่ถูกน้ำเซาะที่ดินพังลง จึงรื้อกุฎีทองมาสร้างไว้ที่วัดภุมรินทร์ วัดนี้จึงได้ชื่อว่าวัดภุมรินทร์กุฎีทอง นอกจากนี้ ยังมี พิพิธภัณฑ์วัดภุมรินทร์และอุทยานการศึกษา เป็นสถานที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุล้ำค่าสมควรแก่การศึกษาและอนุรักษ์ ไว้ เช่น พระพุทธรูป หนังสือไทย โถลายคราม และเครื่องทองเหลือง พระพุทธรูปเก่าแก่อายุกว่า 300 ปี เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทอง ปางมารวิชัยชื่อ พระพุทธรัตนมงคลหรือหลวงพ่อโต และ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยประดิษฐาน
วัดอัมพวันเจติยาราม เป็นวัดของตระกูลราชินิกุลบางช้าง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 หลังวัดแห่งนี้เคยเป็นนิวาสสถานเก่าของหลวงยกกระบัตร (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) และ คุณนาค (สมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1) และเป็นสถานที่พระราชสมภพของรัชกาลที่ 2 เชื่อกันว่าบริเวณพระปรางค์ของวัดอัมพวันเจติยาราม เดิมเป็นเรือนที่คุณนาคใช้เป็นที่คลอดคุณฉิมบุตรชาย ซึ่งต่อมาได้เป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
วัดอินทาราม ตั้งอยู่ที่ตำบลเหมืองใหม่ เป็นวัดโบราณสร้างเมื่อ พ.ศ. 2300 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่มาปฏิสังขรณ์ใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 3 สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ พระพุทธรูปหลวงพ่อโตอายุกว่า 300 ปี พระอุโบสถสร้างด้วยหินอ่อนทั้งหลัง บานหน้าต่างและบานประตูเป็นไม้สักแกะสลักสุภาษิตสอนใจ
หมู่บ้านเรือนไทย ตั้งอยู่ที่ตำบลปลายโพงพาง อำเภออัมพวา กิจกรรมตักบาตรตอนเช้า ไหว้พระวัดต่าง ๆ เที่ยวชมวิถีชีวิตไทยในคลอง เตาตาล บ้านทรงไทย
อุทยานพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ของ มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณที่ได้พระราชทานศิลปวัฒนธรรมอันงดงามไว้เป็นมรดกแก่ชาติ จนได้รับยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก จากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) บริเวณที่ก่อสร้างอุทยานพระบรมราชานุสรณ์นี้ พระราชสมุทรเมธี เจ้าอาวาสวัดอัมพวันเจติยารามเป็นผู้น้อมเกล้าฯถวาย มีพื้นที่ประมาณ 11 ไร่ พื้นที่บริเวณนี้มีความสำคัญ เพราะเป็นสถานที่พระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2
ค่ายบางกุ้ง ตั้งอยู่ตำบลบางกุ้ง ค่ายแห่งนี้เป็นค่ายทหารเรือไทยที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ หลังจากเหตุการณ์เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ได้โปรดให้ยกกองทัพเรือมาตั้งค่ายที่ตำบลบางกุ้ง เรียกว่า ค่ายบางกุ้ง เนื่องจากเมืองแม่กลองเป็นเส้นทางที่กองทัพพม่าใช้ในการเดินทัพ โดยสร้างกำแพงล้อมวัดบางกุ้งให้อยู่กลางค่ายเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นที่เคารพบูชาของทหาร พระเจ้าตากสินมหาราชได้โปรดให้คนจีนจากระยอง ชลบุรี ราชบุรีและกาญจนบุรีรวบรวมผู้คนมาตั้งเป็นกองทหารรักษาค่าย ค่ายนี้จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนี่งว่า "ค่ายจีนบางกุ้ง" พระองค์ทรงให้ชื่อทหารเหล่านี้ว่า “ทหารภักดีอาสา” ในปี พ.ศ. 2311 พระเจ้ากรุงอังวะทรงยกทัพผ่านกาญจนบุรี มาล้อมค่ายจีนบางกุ้ง พระเจ้าตากสินมหาราชและพระมหามนตรี (บุญมา) ร่วมรบขับไล่กองทัพพม่าทำให้ข้าศึกแตกพ่าย นับเป็นค่ายทหารไทยที่สร้างความเกรงขามให้กองทัพพม่า สร้างขวัญกำลังใจให้คนไทยกลับคืนมา และเป็นสงครามครั้งแรกที่ไทยทำกับพม่าหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี ค่ายบางกุ้งแห่งนี้ถูกปล่อยให้รกร้างเกือบ 200 ปี จนมาถึงปี พ.ศ. 2510 กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ตั้งเป็นค่ายลูกเสือขึ้น เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระเจ้าตากสินมหาราช และได้สร้างศาลพระเจ้าตากสินไว้เป็นอนุสรณ์ โดยทำพิธียกศาลเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511
วัดเจริญสุขารามวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ตำบลบางนกแขวก สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ พระอุโบสถที่มีศิลปะการก่อสร้างเฉพาะตัว เพดานโบสถ์เป็นรูปโค้งคล้ายประทุนเรือ ภายในประดิษฐานหลวงพ่อโตลักษณะเป็นพระปฏิมากรสมัยสุโขทัยสร้างด้วยศิลาแลง
วัดบางกุ้ง อยู่ในเขตพื้นที่เดียวกับค่ายบางกุ้ง แต่อยู่คนละฝั่งกัน มีความมหัสจรรย์อยู่ที่โบสถ์ของวัดจะถูกปกคลุมด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่ ทำให้วัดบางกุ้งแห่งนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน Unseen Thailand โดยภายในวัดมีโบสถ์เก่าประดิษฐานพระประธานเป็นพระพุทธรูปปั้นขนาดใหญ่ ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อโบสถ์น้อย และมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ เป็นภาพพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมและภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่ในซุ้มขนาบข้างด้วยอัครสาวกนั่งพนมมือ
อาสนวิหารแม่พระบังเกิด ตั้งอยู่ตำบลบางนกแขวก โบสถ์นี้เป็นสถานที่สักการะอันศักดิ์สิทธิ์ของคริสตชนที่อาศัยอยู่โดยรอบ สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2433 (ค.ศ. 1890) โดยบาทหลวงเปาโลซัลมอน มิชชันนารีชาวฝรั่งเศส ได้รับทุนสนับสนุนจากญาติพี่น้องของท่านในประเทศฝรั่งเศส คณะมิซซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส กรุงโรมและผู้ใจบุญในกรุงเทพฯ ใช้เวลาสร้างถึง 6 ปีจึงเสร็จสมบูรณ์ ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439 (ค.ศ. 1896) เป็นสถาปัตยกรรมแบบโกธิคของประเทศฝรั่งเศส ฉาบด้วยปูนตำ ภายในประดับด้วยภาพกระจกสีสวยงดงาม มีรูปปั้น ธรรมาสน์เทศน์ อ่างล้างบาป ขาเทียนลักษณะต่างๆ และรูปแกะสลักบรรยายเกร็ดประวัติในพระคัมภีร์คริสตศาสนา นับเป็นโบสถ์ที่มีความสวยงามไม่ไกลจากริมฝั่งแม่น้ำ

  จุดเริ่มต้นแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
ผลจากการใช้แนวทางการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่สังคมไทยอย่างมากในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งกระบวนการของความเปลี่ยนแปลงมีความสลับซับซ้อนจนยากที่จะอธิบายในเชิงสาเหตุและผลลัพธ์ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดต่างเป็นปัจจัยเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน
สำหรับผลของการพัฒนาในด้านบวกนั้น ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเจริญทางวัตถุ และสาธารณูปโภคต่างๆ ระบบสื่อสารที่ทันสมัย หรือการขยายปริมาณและกระจายการศึกษาอย่างทั่วถึงมากขึ้น แต่ผลด้านบวกเหล่านี้ส่วนใหญ่กระจายไปถึงคนในชนบท หรือผู้ด้อยโอกาสในสังคมน้อย
แต่ว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้เกิดผลลบติดตามมาด้วย เช่น การขยายตัวของรัฐเข้าไปในชนบท ได้ส่งผลให้ชนบทเกิดความอ่อนแอในหลายด้าน ทั้งการต้องพึ่งพิงตลาดและพ่อค้าคนกลางในการสั่งสินค้าทุน ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ระบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และการรวมกลุ่มกันตามประเพณีเพื่อการจัดการทรัพยากรที่เคยมีอยู่แต่เดิมแตกสลายลง ภูมิความรู้ที่เคยใช้แก้ปัญหาและสั่งสมปรับเปลี่ยนกันมาถูกลืมเลือนและเริ่มสูญหายไป
สิ่งสำคัญ ก็คือ ความพอเพียงในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่ทำให้คนไทยสามารถพึ่งตนเอง และดำเนินชีวิตไปได้อย่างมีศักดิ์ศรีภายใต้อำนาจและความมีอิสระในการกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง ความสามารถในการควบคุมและจัดการเพื่อให้ตนเองได้รับการสนองตอบต่อความต้องการต่างๆ รวมทั้งความสามารถในการจัดการปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นศักยภาพพื้นฐานที่คนไทยและสังคมไทยเคยมีอยู่แต่เดิม ต้องถูกกระทบกระเทือน ซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจจากปัญหาฟองสบู่และปัญหาความอ่อนแอของชนบท รวมทั้งปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ล้วนแต่เป็นข้อพิสูจน์และยืนยันปรากฎการณ์นี้ได้เป็นอย่างดี

ASEAN Community คืออะไร
อาเซียน (ASEAN) ประกอบด้วย 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย (2510) สิงคโปร์ (2510) อินโดเนเซีย (2510) มาเลเซีย (2510) ฟิลิปปินส์ (2510) บรูไน (2527) เวียตนาม (2538)  ลาว (2540) พม่า (2540)  กัพูชา (2542) มีประชากรรวมกันประมาณ 570 ล้านคน มีขนาดเศษฐกิจที่โตมาก เมื่อเดือนตุลาคม 2546 ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า ข้อตกลงบาหลี 2 เห็นชอบให้จัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คือการให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) เนื่องจากการแข่งขันรุนแรง เช่น อัตราการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของจีนและอินเดียสูงมากในช่วงที่ผ่านมา  ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ที่ชะอำ หัวหิน เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558
ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา
1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน  (ASEAN Security Community – ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง
  2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน โดย
          (ก)มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020
         (ข)ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)
          (ค)ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาและช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน
          (ง)ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาดทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน
     กลุ่มสินค้าและบริการนำร่องที่สำคัญ ที่จะเกิดการรวมกลุ่มกัน คือ สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ไม้ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ / ยานยนต์ /อิเล็กทรอนิกส์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) / การบริการด้านสุขภาพ, ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) กำหนดให้ปี พ.ศ. 2558 เป็นปีที่เริ่มรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ โดยผ่อนปรนให้กับประเทศ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียตนาม
      ประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ทำ Roadmap ทางด้านท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)
  3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม

ประโยชน์ที่ไทยได้รับคืออะไร
1.ประชากรเพิ่มเป็น 600 ล้านคนโดยประมาณ ทำให้เพิ่มศักยภาพในการบริโภค เพิ่มอำนาจการต่อรองในระดับโลก
2.Economy Scale ยิ่งผลิตมาก ยิ่งต้นทุนต่ำ
3.มีแรงดึงดูดเงินลงทุนที่อยู่นอกอาเซียนสูงขึ้น
4.สิบเสียงย่อมดังกว่าเสียงเดียว
ผลกระทบมีอะไรบ้าง?
1.การศึกษาในภาพใหญ่ของโลก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ต้องไม่ให้การเปลี่ยนแปลงนี้มากระชากลากเราไปอย่างทุลักทุเล เราต้องเตรียมความพร้อมทันที ตลอดเวลา โดยเฉพาะบุคลากรต้องตามให้ทันและยืดหยุ่นปรับตัวให้รับสถานะการณ์ได้
2.ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษากลางของ ASEAN บุคลากรและนักศึกษา ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ ให้สามารถสื่อสารได้
3.ปรับปรุงความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ เพื่อลดข้อขัดแย้งในภูมิภาคอาเซียน (Conflict Management) จึงต้องคำนึงถึงการสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง ASEAN ให้มากขึ้น
4.สร้างบัณฑิตให้สามารถแข่งขันได้ใน ASEAN เพิ่มโอกาสในการทำงาน ไม่เช่นนั้น จะถูกแย่งงานเพราะเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน/บริการอย่างเสรี คณะกรรมการวิชาชีพ สภาวิชาชีพ ต้องเตรียมการรองรับผลกระทบนี้อย่างเร่งด่วน
5.โอกาสในการเป็น Education Hub โดยอาศัยความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์ของประเทศไทย แต่ต้องเน้นในเรื่องของคุณภาพการศึกษาเป็นตัวนำ
6.เราต้องการเครื่องมือในการ Transform คน การเรียนแบบ PBL หรือ Project Based Learning น่าจะได้มีการวิจัยอย่างจริงจังและนำมาปรับใช้  ห้องเรียนไม่ใช่แค่ห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆอีกต่อไป ต้องเพิ่มการเรียนจากชีวิตจริง ลงมือทำเป็นทีม อยู่คนละประเทศก็ทำร่วมกันได้ด้วยไม่มีข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ประเด็นนี้ อาจารย์จะสอนได้ยากขึ้น แต่เป็นผู้ที่ช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ แสดงว่า อาจารย์ต้องมีความพร้อมมากกว่าเดิมและเก่งจริงๆMRAs
การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 เมื่อ 7 ตุลาคม 2546 ที่บาหลี อินโดนีเซีย ได้กำหนดจัดทำข้อตกลงร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs)เกี่ยวกับคุณสมบัติของวิชาชีพหลัก แรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี โดยจะเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2558 ในเบื้องต้น ได้ทำข้อตกลงร่วมกันแล้ว 7 สาขา คือ